Update

Margin คืออะไร

| วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567
อ่านเพิ่มเติม »


 Margin ในทางธุรกิจและการเงินคืออัตราส่วนของกำไรหรือ

Margin คืออะไร

Posted by : TAI2U on :วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567 With 0ความคิดเห็น

EBIT คืออะไร

| วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567
อ่านเพิ่มเติม »

 

EBIT คืออะไร

Posted by : TAI2U on :วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567 With 0ความคิดเห็น

วันอักษรเบรลล์โลก (World Braille Day)

| วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567
อ่านเพิ่มเติม »



องค์การสหประชาชาติ (United Nations)กำหนดให้วันที่ 4 มกราคม ของทุกปี เป็นวันอักษรเบรลล์โลก (World Braille Day)ซึ่งมีการเฉลิมฉลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของอักษรเบรลล์
ในฐานะสื่อกลางในการสื่อสารและตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของผู้พิการทางสายตา
ที่มา : un.org

วันอักษรเบรลล์โลก (World Braille Day)

Posted by : TAI2U on :วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567 With 0ความคิดเห็น

ISO คืออะไร

| วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566
อ่านเพิ่มเติม »


ISO คืออะไร
หากเปรียบเทียบความเลิศรสระหว่างทุเรียนกับมังคุดคงยากที่จะบอกว่าสิ่งใดอร่อยกว่า ถ้าไม่มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจน การเปรียบเทียบองค์กรก็เช่นกัน องค์กรหรือบริษัทที่มอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าในทุกวันนี้ บริษัทใดมีคุณภาพเหนือบริษัทใดก็นับว่าตัดสินกันได้ยากหากไม่มีมาตรฐานกลางมาเป็นเครื่องมือวัด  ISO จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของเครื่องมือนั้น

ISO คืออะไร

Posted by : TAI2U on :วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566 With 0ความคิดเห็น

POCCC คืออะไร

| วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565
อ่านเพิ่มเติม »


 ทฤษฏี POCCC นั้นมาจากหน้าที่ 5 ประการที่ อองริ ฟาโยล กำหนดขึ้นสำหรับการบริหารจัดการองค์กร ในแต่ละหน้าที่นั้นต่างก็มีความสำคัญในตัวเอง ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงและส่งผลในกันและกัน เพื่อให้การทำงานสมบูรณ์และประสบความสำเร็จอีกด้วย โดยรายละเอียดของหน้าที่ทั้ง 5 ประการ นั้นมีดังนี้

POCCC คืออะไร

Posted by : TAI2U on :วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 With 0ความคิดเห็น

Supply Chain คืออะไร

|
อ่านเพิ่มเติม »

 


โซ่อุปทาน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน หรือ เครือข่ายโลจิสติกส์ คือ การใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหาไปยังลูกค้า กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ แล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภค หรือ End Customer) ในเชิงปรัชญาของโซ่อุปทานนั้น วัสดุที่ถูกใช้แล้ว อาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ ถ้าวัสดุนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable Materials) โซ่อุปทานมีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่า
โดยทั่วไปแล้ว จุดเริ่มต้นของห่วงโซ่มักจะมาจากทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางชีววิทยาหรือนิเวศวิทยา ผ่านกระบวนการแปรรูปโดยมนุษย์ผ่านกระบวนการสกัด และการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น การก่อโครงร่าง, การประกอบ หรือการรวมเข้าด้วยกัน ก่อนจะถูกส่งไปยังโกดัง หรือคลังวัสดุ โดยทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย ปริมาณของสินค้าก็จะลดลงทุกๆครั้ง และไกลกว่าจุดกำเนิดของมัน และท้ายที่สุด ก็ถูกส่งไปถึงมือผู้บริโภค

Supply Chain คืออะไร

Posted by : TAI2U on : With 0ความคิดเห็น

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

| วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
อ่านเพิ่มเติม »

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Posted by : TAI2U on :วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 With 0ความคิดเห็น

Big Data คืออะไร ?

| วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562
อ่านเพิ่มเติม »
         เคยได้ยินกันบ่อยๆแน่นอนกับโลกยุคนี้ ยุค 4.0 กับคำว่า Big Data   มาทำความรู้จักกับคำๆนี้ดีกว่า ว่ามันคืออะไร และสำคัญ ยังไงกับโลกปัจจุบัน 

Big Data คืออะไร

Big Data คือ ปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาล ไม่ว่าแหล่งที่มาจะมาจากภายในบริษัทหรือภายนอกก็ตาม   และจำเป็นต้องการ Software ในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ อย่ามีประสิทธิภาพทั้งนี้แบ่งออกเป็นข้อมูลเป็น 2 ประเภทคือ 

1.ประเภทที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) 
2.ประเภทข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Unstructured Data)

 โดยมีองค์ประกอบ 5V ดังนี้:

Volume คือ ข้อมูลปริมาณมากเกินกว่าที่ฐานข้อมูลแบบเดิมจะจัดเก็บได้
Velocity คือ ข้อมูลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น Social Media, Sales Data, หุ้น ฯลฯ
Variety คือ ข้อมูลมีความหลากหลาย ทั้งตัวเลข ข้อความ อีเมล รูปภาพ เสียง วิดิโอ ฯลฯ
Veracity คือ คุณภาพข้อมูลที่ต้องมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ หากข้อมูลไร้คุณภาพก็จะส่งผลต่อการวิเคราะห์ต่อไป
Value คือ ความคุ้มค่าของการนำข้อมูลที่มีประโยชน์ไปใช้


การวิเคราะห์ข้อมูล Big data 

         อาศัยหลักการพื้นฐานบางอย่างเพื่อพัฒนาเป็นเทคนิคในการดึงข้อมูลสำคัญออกจากชุดฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลหลากหลายรูปแบบ เพื่อนำมาหา pattern ของข้อมูลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หารูปแบบความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ หาแนวโน้มการตลาด เทรนด์ความชอบของลูกค้า และข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจ

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล Big data ทำให้มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยระดับของการวิเคราะห์ก็เป็นได้หลากหลาย แล้วแต่รูปแบบการนำไปใช้งาน


Big Data สำคัญกับธุรกิจอย่างไร


              เมื่อวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจคือการสร้างยอดขาย สร้างรายได้ ให้เกิดกำไรสูงสุด การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธุรกิจของคุณก็สามารถบอกได้ว่าควรจะวางแผนกลยุทธ์อย่างไร เมื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมาแล้ว คุณสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์โอกาส ความเป็นไปได้ และนำมาเป็นตัวช่วยในการกำหนดทิศทางองค์กรได้อย่างรวดเร็วในยุคที่มี Data มากมายเกิดขึ้นแบบ Real-time เช่นนี้
                 ทำให้เข้าใจสภาพตลาด วิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค เพื่อให้เราสามารถวางแผนนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการได้ทันท่วงที
                 ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค สามารถคาดการณ์และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อนำกลับมาปรับกลยุทธ์การตลาด และนำเสนอโปรโมชั่นและปรับปรุงบริการให้โดนใจและตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างแท้จริง

Big Data คืออะไร ?

Posted by : TAI2U on :วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 With 0ความคิดเห็น

องค์การ คืออะไร

|
อ่านเพิ่มเติม »

ในทางเศรษฐศาสตร์ องค์การ หรือ องค์กร Organization หมายถึง บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยมีทั้ง องค์การที่แสวงผลกำไร คือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์การที่ไม่แสวงผลกำไร คือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น องค์การ หมายถึงการนำเอาส่วนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมกันอย่างมีระเบียบ หรือเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างมีเหตุผลของบุคคลกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการให้การดำเนินงานลุล่วงไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ โดยเริ่มแรกนั้น คำว่า "องค์การ" เดิมเป็นศัพท์บัญญัติมาจากคำภาษาอังกฤษ organization ในขณะที่ คำว่า "องค์กร" เป็นศัพท์บัญญัติมาจากคำว่า organ โดยที่องค์กรหมายถึงหน่วยย่อยขององค์การ แต่ในปัจจุบันใช้ในความหมายเดียวกัน


Cr..https://th.wikipedia.org/wiki/องค์การ

ตราสินค้า คือ อะไร ?

|
อ่านเพิ่มเติม »


            ตราสินค้า หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า  ยี่ห้อ หรือเป็นภาษาสากล ก็ ฺBrand  ในองค์กรณ์หรือบริษัทต้องได้ยินคำนี้บ่อยๆ เช่น การสร้าง แบรนด์  อธิบายคืด  เป็นรูปแบบของภาพพจน์และแนวความคิด ในรูปอัตลักษณ์ คำขวัญ และผลงานออกแบบ ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งยังเป็นข้อมูลเชิงมโนธรรม ที่แสดงออกทางรูปธรรมด้วยสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงบริษัท สินค้า บริการ หรือกลุ่มผู้ขาย ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การสร้างตราสินค้า ให้เป็นที่จดจำของลูกค้า เกิดขึ้นได้จากการโฆษณา การบอกต่อ การออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
             ในปัจจุบัน การสร้างตราสินค้า กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม และปรัชญาการออกแบบ ตราสินค้าประกอบด้วย
        1. ชื่อตราสินค้า (Brand name) หรือ ยี่ห้อ  คือส่วนที่สามารถอ่านออกเสียงได้
        2.  เครื่องหมายตราสินค้า (Brandmark) คือส่วนที่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ แต่สามารถจดจำได้ อาทิสัญลักษณ์ รูปแบบ สีสัน ตัวอักษรประดิษฐ์ เสียง หรือรูปทรงที่จดจำได้ง่ายอย่างรองเท้าบูตแฟชั่น เป็นต้น หากเป็นภาพสัญลักษณ์อย่างเดียว ส่วนนี้อาจเรียกว่าเป็นตราเครื่องหมาย (logo) ได้เช่นกัน


Cr..https://th.wikipedia.org/wiki/ตราสินค้า

การวิจัยการตลาด คืออะไร

| วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562
อ่านเพิ่มเติม »

การวิจัยการตลาด (Marketing research) นั้นคือการทำวิจัยเพื่อนำข้อสรุปมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางการตลาดโดยนำข้อมูลจากการทำวิจัยนั้นมาวิเคราะห์ทางสถิติและนำมาตีความอีกครั้งหนึ่ง นักการตลาดหรือผู้บริหารจะนำข้อมูลจากการตีความเหล่านี้เพื่อวางแผนการตลาด อีกทั้งข้อมูลเหล่านั้นยังใช้ในการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทางการตลาด (Market environment) ของบริษัทด้วย นักวิจัยการตลาดนั้นจะใช้วิธีการต่าง ๆ ทางสถิติ เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การตรวจสอบสมมติฐาน (Hypothesis tesing) การทดสอบไคแสควร์ (Chi-squared testing) การถดถอยเชิงเส้น (Linear regressing) สหสัมพันธ์ (Correlations) การแจกแจงความถี่ (Frequency distributions) การแจกแจงแบบปัวส์ซง (Poisson distributions) การแจกแจงแบบทวินาม (Binomial distribution) เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลดิบที่ได้มาตีความให้กลายเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ในเชิงธุรกิจได้ กระบวนการทำวิจัยทางการตลาดนั้นมีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ การกำหนดปัญหา การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการตีความข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล ข้อมูลหลังจากการทำวิจัยนั้นจะถูกเสนอให้กับผู้บริหาร ดังนั้นข้อมูลที่นำเสนอนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบันมากที่สุด ความแตกต่างระหว่างการวิจัยการตลาด (Marketing research) และการวิจัยตลาด (Market research) คือ การวิจัยตลาดนั้นเป็นการทำวิจัยเพื่อศึกษาตลาดใดตลาดหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น บริษัทต้องการทำวิจัยเพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายของตลาด (Target market) หลังจากที่แบ่งกลุ่มตลาด (Market segment) เรียบร้อยแล้ว ในทางกลับกัน การวิจัยการคลาดจะเกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ทำเฉพาะการทำการตลาดเท่านั้น ดังนั้นการวิจัยตลาดจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยการตลาดนั่นเอง

ประเภทของการวิจัยตลาด

การวิจัยการตลาดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของกิจกรรมทางการตลาดซึ่งแบ่งได้ 2 ส่วน ดังนี้

• การวิจัยปฐมภูมิ (Primary Research / Field Research) เป็นการวิจัยที่ควบคุมและการนำไปใช้สำหรับวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ การวิจัยทุติยภูมิ (Secondary Research/ Desk Research) เป็นการวิจัยเพื่อหาข้อมูลเพื่มเติม หรือเพื่อสนับสนุนข้อมูลอืน ๆ จากนิยามการวิจัยทั้งสองแบบข้างต้น ตัวอย่างของวิจัยปฐมภูมิ ได้แก่ การวิจัยอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งเป็นการค้นหาความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับอาหารเพื่อสุขภาพและใช้ในบริษัทที่ต้องการทำอาหารเพื่อสุขภาพเท่านั้น ส่วนตัวอย่างของวิจัยทุติยภูมิในตัวอย่างเดียวกัน คือการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ใช้ในบริษัทที่ไม่ได้ต้องการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ ต้องการใช้ข้อมูลเพื่อนำมาอ้างอิงเท่านั้น

การวิจัยปฐมภูมินั้นมักจะมีต้นทุนการทำค่อนข้างสูงในการเตรียม การเก็บ และการวิเคราะห์ข้อมูล ขณะที่การวิจัยทุติยภูมิจะมีราคาถูกกว่ามากแต่จะเป็นข้อมูลที่ไม่ทันสมัยและล้าหลัง ซึ่งเหมาะสมสำหรับเข้าใจในภาพกว้างหรือมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจตลาดโดยรวมมากกว่าการการเข้าใจถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด ส่วนการวิจัยปฐมภูมินั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งใช้เทคนิคการวิเคราะห์ได้ทั้งแบบเชิงตัวเลข (Numerical) และไม่ใช่เชิงตัวเลข (Non-numerical) ความเหมาะสมของการเลือกทำวิจัยแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการข้อสรุปการวิจัย ว่าต้องการให้เป็นตัวเลขหรือต้องการเป็นแนวคิดเพื่อนำไปทำการตลาดต่อไป

รูปแบบอื่น ๆ ของการทำวิจัยทางการตลาด ได้แก่ 
• การวิจัยเชิงบุกเบิกหรือสำรวจ (Exploratory research) เป็นการวิจัยเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นและเป็นปัญหาที่ไม่เคยมีคนทำวิจัยมาก่อน • การวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) เป็นวิจัยเพื่อการสร้างคำแนะนำเพื่อตอบคำถามว่า "อะไรเป็นสาเหตุให้เกิด..." • การวิจัยเชิงพยากรณ์ หรือคาดการณ์ (Predictive research) เป็นการวิจัยเพื่อการทำนายสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ • การวิจัยสรุปผล (Conclusive research) เป็นการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปหรือเพื่อการตัดสินใจ


Cr..https://th.wikipedia.org/wiki/การตลาด

การวิจัยการตลาด คืออะไร

Posted by : TAI2U on :วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 With 0ความคิดเห็น

กลยุทธ์ คืออะไร ?

|
อ่านเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ คืออะไร ? (Strategy) หมายถึง การวางแผนงานสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย ภายใต้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หรือการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ SWOT Analysis กล่าวคือ การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม (อุปสรรค) ในกรอบระยะเวลาที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อประกอบการวางแผนการในการใช้วิธีการ และทรัพยากร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ความหมายที่ง่ายที่สุดของคำว่ากลยุทธ์ ก็คือแผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในยุคปัจจุบันนี้ จะเป็นการเที่ยงตรงมากกว่า หากพิจารณาว่า Strategy คือขบวนการตัดสินใจอันซับซ้อนซึ่งเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายสุดท้าย (Ends) เข้ากับ วิถี หรือ หนทาง (Ways) และวิธีการ หรือเครื่องมือ (Means) ในอันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น


Cr.https://th.wikipedia.org/wiki/กลยุทธ์

กลยุทธ์ คืออะไร ?

Posted by : TAI2U on : With 0ความคิดเห็น

ทำไมต้องกินป๊อบคอร์นตอนดูหนัง ?

| วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
อ่านเพิ่มเติม »


           เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมเวลาดูหนัง จะต้องมี ป๊อบคอร์น เป็นอาหาร ที่ต้องติดมือเข้าไป เหมือนมันเป็นอะไรที่ขาดไม่ได้สำหรับโรงหนัง  ทำไมไม่เป็นขนมขบเคี้ยวแบบอื่น (จริงๆก็มีแหละ) ทำไมไม่เป็น อาหาร อะไรสักอย่าง  ทำไมมันถึงเป็นวัฒนธรรมที่ทำกันทั่วโลก ทำไมต้อง ป๊อบคอร์น  วันนี้จะมาเฉลย  ปัญหานี้ให้ฟังครับ
     
          ว่ากันว่า วัฒนธรรม ป๊อบคอร์น  นี้เกิดใน อเมริกา  ในช่วงปี ค.ศ.  1929 เป็นช่วงที่ เศรษฐกิจตกต่ำ
ฝืดเคือง อะไรๆก็แพงไปหมด แม้กระทั้ง ของกิน  แต่มี อาหารชนิดหนึ่งที่สามารถ หาทานง่ายและที่สำคัญ ราคาถูก นั่นคือ   ข้าวโพดคั่วเป็นของขบเคี้ยวเล่นแบบหนึ่งที่คนทั่วไปพอจะหามาได้ในราคาเพียง 10 เซนต์    ยอดขายข้าวโพดคั่ว สวนทางกับอาหารประเภทอื่นๆ  คนอื่นล้ม เข้าโพดรุ่ง กันเลยทีเดียว ทำให้  ในยุคนั้นมีชาวอเมริกันคนหนึ่ง ประดิษฐ์เครื่องทำข้าวโพดคั่ว  (ไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร )โดยเขาเริ่มจากการขายคั่วเกลือก่อน  เพราะวัตถุดิบอื่นมีราคาสูง แต่เกลือยังไม่แพงมาก ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ธุรกิจข้าวโพดคั่วจึงมีกำไรเยอะ  ประกอบกับในยุคนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 น้ำตาลถูกส่งออกไปให้กับทหารอเมริกันที่รบอยู่นอกประเทศ ส่งผลให้ขนมขบเคี้ยวประเภทขนมหวานต้องลดลง หากินยาก ชาวอเมริกันเลยต้องกินข้าวโพดคั่วเกลือมากกว่าปกติ  เรียกว่า กินเป็นอาหารประจำวันกันเลยทีเดียว  แม้ในช่วงเวลาของครอบครัว เวลาพักผ่อน กิจกรรมบันเทิงต่างๆ  ก็มักจะมีข้าวโพดคั่วมาเป็นอาหารด้วย   ทำให้ยึดปฏิบัติกันมารุ่นต่อรุ่น  (เพราะมันหาง่ายนี่แหละ) และมีการปรับปรุงสูตรต่างๆในภายหลัง  แต่กิจกรรมที่ทำร่วมกันก็ยังมี ข้าวโพดคั่วเหมือนเดิม  แม้กระทั้งการดูหนังในโรงหนัง การกิน ข้าวโพดคั่ว  มันทำให้รู้สึกถึงการได้ทำกิจกรรมกับครอบครัว ผ่อนคลายๆ ไปด้วยกันนั่นเอง

ทำไมต้องกินป๊อบคอร์นตอนดูหนัง ?

Posted by : TAI2U on :วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 With 0ความคิดเห็น

ทำไมพูดภาษาอังกฤษไม่ได้สักที ?

|
อ่านเพิ่มเติม »
มีหลายคนในประเทศไทยที่ผ่านการเรียน ภาษาอังกฤษ  มาแล้ว เคยสัมผัสเคยพยายามที่จะศึกษามาแล้ว ก็ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษ ไม่ได้สักที่  เลยมีการตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมสักทีถึงพูดไม่ได้เหมือนคนอื่นเขา ลองมาวิเคราะห์ไปด้วยกันดูครับว่า  คุณมีเหตุผลเหล่านี้อยู่หรือเปล่า

1.ขาดวินัย
               บางคนต้องการที่จะพูดให้ได้ ต้องการที่จะเข้าใจ แต่ ขาดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หรือขาดช่วง ทิ้งใว้  คิดว่าค่อยมาทำพรุ่งนี้ก็ได้  ค่อยมาฝึกพรุ่งนี้ก็ได้ คงไม่เป็นไรหรอก  อาการอย่างนี้คือคุณกำลังขาดวินัย  หากฝึกประจำ จะเกิดการคุ้นชิน เกิดการจดจำ เกิดความชำนาญ จนเกิดทักษะ เพราะฉะนั้น ควรจะมีระเบียบในการฝึกฝน อย่างมาก

2.กลัว , ประหม่า
             มีหลายคนที่อาจจะเข้าใจ แต่ไม่ถึงกับใช้งานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แนะนำให้ลองใช้ภาษาอังกฤษ คุยกับคนที่เข้าพูดคล่อง หรือเจ้าของภาษาเลยได้ยิ่งดี  อย่าประหม่าอย่ากลัว  และที่สำคัญ อย่าอาย เพราะความรู้ที่กลับมาได้เราทั้งนั้น  เริ่งจากคนใกล้ตัวก่อนก็ได้ หรือ เวลา ฝรั่งมาถามทางอะไรประมาณนี้ แนะนำให้ Talk ไปเลยครับ ผิดถูดช่างมัน จากนั้นค่อยมาศึกษาเพิ่มเอา แต่หากมีโอกาสแล้ว ไม่ทำ จะเป็นการปิดกั้นตัวเองไปเลยนะ

3.เพื่อจุดประสงค์อื่น
         หรือไม่ได้มีใว้สื่อสารนั่นเอง มีใว้ใช้สอบ  มีใว้ทำอย่างอื่น นอกจากการสื่อสาร  แบบนี้เสียดายนะครับ น่าจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่านี้ ถ้ามีใว้แค่สอบ เราก็จะอยู่กับตัวหนังสือ  กับข้อสอบ เราจะเข้าใจได้ไม่หมดว่า บทสนทนา จริงๆนั้นเป็นอย่างไร

4.ไม่ชอบภาษาอังกฤษ 
            คนเรามักจะทำอะไรที่ไม่ชอบ  ออกมาไม่ค่อยจะดี เนื่องจากขาดความใส่ใจ ขาดความสนใจ เหมือนโดนบังคับไปเรียน  ถ้าไม่ชอบก็จะไม่สนใจ จนถึงขั้นโดดเรียน  ภาษา ก็เหมือนกันต่อให้ฉลาดแต่ถ้าไม่ชอบ  ก็ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ดีได้

5.คิดว่าตัวคุณโง่ 
           แนะนำว่าห้ามคิดแบบนี้เด็ดขาด เพราะหากท่านพูดภาษาไทยได้ การพูดภาษาอื่นก็ไม่เกี่ยวกับความโง่หรอกครับ  คิดแบบนั้น จะเป็นการตัวถูกตัวเองเสียเปล่าๆ หากอยู่ถูกที่ ถูกเวลา คนโง่แค่ไหนก็พูดภาษาอังกฤษได้   ยกตัวอย่าง เพื่อผม เรียนไม่จบ แต่ทำงานกับฝรั่ง คอยหยิบของให้  จนทุกวันนี้เขาพูดคล่องเลย แต่เขียน ไม่ค่อยได้เท่านั้นเอง เพราะเขาเคยชิน และจำได้ ส่วนอื่นค่อยไปเรียนเพิ่มเอาก็ไม่สายครับ

pdca คืออะไร ?

|
อ่านเพิ่มเติม »
PDCA  คืออะไร  วันนี้มาทำความรู้จักกกัน 
                    PDCA  หรือเรียกอีกชื่อว่า วงจร เดมมิ่ง  (Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) ภาษาไทย ก็เรียกว่า วงจรควบคุมคุณภาพ   หลายๆท่านที่ทำงานในองค์กรณ์ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ หรือไม่ประจำ น่าจะเคยผ่าน หรือ ได้รับการอบรม เกี่ยวกับวงจร PDCA ไม่มากก็น้อย เพราะถือว่าเป็นวงจรที่จำเป็น สำหรับองค์กรณ์ ให้การทำงานมีการควบคุม มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ วงจร PDCA ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้กับองค์กรณ์  สามารถนำมาใช้กับตัวบุคคลได้ และ เกิดประสิทธิภาพอีกด้วย 

ความหมายของ PDCA

PDCA คือ วงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดยวอล์ทเตอร์ ซิวฮาร์ท(Walter Shewhart )ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรมและต่อมาวงจรนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพเผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยค้นหาปัญหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตโดยพนักงานเอง จนวงจรนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า  Deming Cycle  ต่อมาพบว่า แนวคิดในการใช้วงจร PDCA นั้นสามารถนำมาใช้ได้กับทุกกิจกรรม จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก PDCA เป็นอักษรนำของศัพท์ภาษาอังกฤษ 4 คำคือ

P : Plan = วางแผน
D : Do = ปฏิบัติตามแผน
C : Check = ตรวจสอบ / ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์
A : Action = ปรับปรุงแก้ไขดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน

มาทำความเข้าใจกันต่อว่าแต่ละ คำ สำคัญ อย่างไร

PLAN  การวางแผน
                          หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้

2.Do การปฏิบัติตามแผน
                           หมายถึง การลงมือดำเนินการตามแผน ตามโครงสร้างที่วางเอาใว้  ซึ่งในระหว่างการดำเนินการต้องมีการควบคุม  ตรวจสอบและ เจอปัญหาต่างๆระหว่างการทำงาน  การดำเนินการที่ดีคือการทำงานที่เป็นไปตามแผน ตามกำหนดระยะเวลาที่วางใว้ แต่ในชีวิตจริง มักจะไม่เป็นไปตามที่ต้องการเสมอ จึงต้องมีการตรวจสอล ประแก้ไขตามมา

3.Check ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน
                          หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน

4.Act ปรับปรุงแก้ไข
                       หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ ในครั้งต่อไป


หลังจากครบสี่ องค์ประกอบ  ก็ให้กลับไปทำซ้ำๆเนื่องจากระบบนี้เป็น วงจร การทำซ้ำๆจะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี ขึ้นเสมอ 
Prev
▲Top▲