ISO คืออะไร

| วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566


ISO คืออะไร
หากเปรียบเทียบความเลิศรสระหว่างทุเรียนกับมังคุดคงยากที่จะบอกว่าสิ่งใดอร่อยกว่า ถ้าไม่มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจน การเปรียบเทียบองค์กรก็เช่นกัน องค์กรหรือบริษัทที่มอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าในทุกวันนี้ บริษัทใดมีคุณภาพเหนือบริษัทใดก็นับว่าตัดสินกันได้ยากหากไม่มีมาตรฐานกลางมาเป็นเครื่องมือวัด  ISO จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของเครื่องมือนั้น

ISO มาจากคำเต็มว่า International Organization for Standardization เป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านมาตรฐาน โดยออกมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือองค์กรในระดับสากล ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 1947 มีสมาชิกกว่าร้อยประเทศเข้าร่วมและให้การยอมรับ ที่สำคัญไม่ใช่หน่วยงานจากสังกัดรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ ISO มีจุดมุ่งหมายในการสร้างมาตรฐานระหว่างประเทศให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ รวมถึงผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ด้วย

มาตรฐาน ISO ที่พบบ่อยในประเทศไทย
ISO มีมากมายหลายมาตรฐานครอบคลุมทุกประเภทธุรกิจ แต่ละ ISO ก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยชื่อเรียกจะขึ้นต้นด้วย ISO และต่อท้ายด้วยตัวเลขเพื่อแยกชนิดของมาตรฐานนั้น ๆ ซึ่งประเภทของ ISO ที่เรามักจะพบเห็นได้บ่อย ๆ ในประเทศไทยก็คือ

ISO 9000 การจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
ISO 9001 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ พัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO 9003 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละประเภทธุรกิจ
ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม
ISO 18000 มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
และ ISO ที่เริ่มมีบทบาทในยุคดิจิตอลมากยิ่งขึ้นก็คือ ISO27001 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Next Prev
▲Top▲