ภาษีมูลค่าเพิ่ม

| วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


                ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Value Added Tax หรือชื่อย่อที่เรารู้จักกันดี VAT   วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก VAT  กันให้มากขึ้น
                ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง มูลค่าของส่วนที่เพิ่มในแต่ละขั้นตอนการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มูลค่าเพิ่มก็คือผลต่างระหว่างราคาของสินค้าหรือบริการ ผลิตหรือจำหน่ายกับราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิตหรือในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  มีใครบ้าง

1. ผู้ประกอบการ
2. ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. การขายสินค้าหรือบริการในราชอาณาจักรที่มี่รายรับไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี
2. การขายพืชผลทางการเกษตร
3. การขายสัตว์ทั้งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
4. การขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
5. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน และหนังสือต่างๆ ทุกชนิด รวมทั้งเทปประกอบตำราเรียน
6. การนำเข้าซึ่งสินค้าตามข้อ 2, 3, 4 และ 5
7. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
8. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศเฉพาะทางบก
9. การให้บริการการศึกษาของสถาบันทางราชการและเอกชน
10. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
11. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์ และสาขา ดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์
12. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
13. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
14. การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ทั้งนี้ เฉพาะวิชาชีพอิสระที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพอิสระนั้น
15. การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
16. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
17. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
18. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
19. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น
20. การขายสินค้าหรือบริการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
21. การขายสินค้าหรือให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
22. การขายยาสูบของผู้ประกอบการที่มิใช่โรงงานยาสูบ
23. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุง สภากาชาดไทย
24. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่สูงเกินมูลค่าที่ตราไว้
25. การให้บริการสีข้าว
26. การขนส่งระหว่างประเทศไทยโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งตามกฎหมายของประเทศนั้นยกเว้นภาษีทางอ้อมให้แก่ ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ
27. การนำเข้าสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าบางประเภท

ข้อมูลจาก   https://sites.google.com/site/nakpradittax/naew-kar-sxn-baychi-phasi/phasi-mulkha-pheim/bth-thi-1-khwam-r-thawpi-keiyw-kab-phasi-mulkha-pheim

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Next Prev
▲Top▲